การกำหนดมาตรฐานสำหรับงานบริการ
Establishing Service Standards
การควบคุมคุณภาพสินค้า (Goods) เกิดขึ้นก่อนที่ลูกค้าจะได้สัมผัสกับสินค้านั้น ๆ องค์กรจึงสามารถแยกสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพออกก่อนถึงมือลูกค้าได้ แต่การบริการ (Service) นั้นมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับการบริโภคของลูกค้า (Simultaneous) ซึ่งหมายความว่าลูกค้าจะมีส่วนรู้เห็นกระบวนการในขณะที่บุคลากรกำลังให้บริการอยู่ และหากเกิดความผิดพลาดขึ้น ลูกค้าก็จะรับรู้ถึงความผิดพลาดนั้นโดยที่องค์รไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
แนวคิด
การควบคุมคุณภาพสินค้า (Goods) เกิดขึ้นก่อนที่ลูกค้าจะได้สัมผัสกับสินค้านั้น ๆ องค์กรจึงสามารถแยกสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพออกก่อนถึงมือลูกค้าได้ แต่การบริการ (Service) นั้นมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับการบริโภคของลูกค้า (Simultaneous) ซึ่งหมายความว่าลูกค้าจะมีส่วนรู้เห็นกระบวนการในขณะที่บุคลากรกำลังให้บริการอยู่ และหากเกิดความผิดพลาดขึ้น ลูกค้าก็จะรับรู้ถึงความผิดพลาดนั้นโดยที่องค์รไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
ยิ่งไปกว่านั้น คุณลักษณะอีกประการหนึ่งของ “บริการ (Services)” ที่แตกต่างไปจาก “สินค้า (Goods)” ก็คือ การบริการที่ลูกค้าได้รับนั้นมีความ “แตกต่างกัน” (Heterogenous หรือ Variable) ขึ้นอยู่กับว่า “ใครเป็นผู้ให้บริการ” และ/หรือ “ผู้ให้บริการอยู่ในสภาวะอารมณ์อย่างไร” การควบคุมคุณภาพของการบริการนั้น จึงเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นในทุกองค์กร
หลักสูตรนี้จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดมาตรฐานของเป้าหมายผลงานบริการ (Standards of Service Performance) และ มาตรฐานกระบวนการบริการ (Standard Service Procedures) เพื่อให้บุคลากรในแต่ละตำแหน่งเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และเรียนรู้วิธีการติดตาม ควบคุม ดูแลให้การบริการทุก ๆ ครั้งนั้นเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ได้
สิ่งที่ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้
-
ความจำเป็นของมาตรฐานการบริการ
-
ความหมายและวัตถุประสงค์ของมาตรฐาน
-
วิธีการกำหนดและการทบทวนมาตรฐานผลงาน และ กระบวนการบริการ
-
การถ่ายทอดมาตรฐานสู่ระดับปฏิบัติการ
-
การติดตามเพื่อควบคุมและพัฒนามาตรฐานการบริการ
เนื้อหาของหลักสูตร
ความหมายและความจำเป็นในการกำหนดมาตรฐานการบริการ
-
การบริหารจัดการคุณลักษณะของบริการที่แตกต่างไปจากสินค้า
-
ความหมายและการกำหนดระดับของมาตรฐาน
-
คุณลักษณะของมาตรฐานที่ดี
-
มาตรฐานประเภทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการ
-
สมาชิกที่อยู่ในห่วงโซ่ของแต่ละมาตรฐาน
การกำหนดมาตรฐานผลงาน – Standard of Service Performance
-
ทรัพยากรขององค์กรที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบการกำหนดมาตรฐาน
-
จิตวิทยาเกี่ยวกับสมรรถนะของบุคคล
-
การกำหนดมาตรฐานเชิงคุณภาพ
-
การกำหนดมาตรฐานเชิงปริมาณ
-
การกำหนดเครื่องมือและวิธีการติดตามตรวจสอบ
-
กิจกรรมกลุ่ม – ฝึกทักษะการกำหนดมาตรฐานผลงาน
การออกแบบกระบวนการมาตรฐาน – Standard of Service Procedures
-
การออกแบบกระบวนการที่สามารถส่งมอบผลงานได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
-
จิตวิทยาเกี่ยวกับ Behavior Modification
-
การพิจารณาขั้นตอนที่ลูกค้ามีส่วนร่วมในกระบวนการบริการ
-
การตรวจสอบกระบวนการภายใต้ทรัพยากรที่จำกัดไว้
-
กิจกรรมกลุ่ม – ฝึกทักษะการออกแบบกระบวนการมาตรฐาน
การออกแบบเครื่องมือตรวจสอบและการปรับปรุงพัฒนาผลงาน
-
การออกแบบเครื่องมือตรวจสอบผลงาน
-
การกำหนดแผนการสำหรับผลงานที่ไม่ได้ตรงตามมาตรฐาน
-
การกำหนดมาตรการสำหรับผลงานที่แก้ไขปรับปรุงไม่ได้
-
กิจกรรมกลุ่ม
ความรู้และทักษะพื้นฐานสำหรับการถ่ายทอดมาตรฐานสู่ระดับปฏิบัติการ
-
ภาวะผู้นำที่จำเป็นในการถ่ายทอดมาตรฐานสู่ระดับปฏิบัติการ
-
หลักจิตวิทยาการเรียนรู้สำหรับวัยทำงาน
-
การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้ได้ตามมาตรฐาน
หลักการสื่อสารสำหรับการถ่ายทอดมาตรฐาน
-
จิตวิทยาการสื่อสารระหว่างบุคคล
-
การสื่อสารกับบุคลากรวัยทำงานด้วยอวัจนภาษา
-
การใช้ภาษาในการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดความรู้และทักษะ
-
ขั้นตอนการสื่อสารมาตรฐานให้กับผู้ปฏิบัติงานและการตรวจสอบความเข้าใจ
-
การให้และการรับ Feedback
รูปแบบการจัดอบรม
ผู้เข้าอบรม
ผู้บริหารระดับต้นขึ้นไป จำนวนไม่เกิน 20 คน ต่อรุ่น
ระยะเวลา
1 – 3 วัน (ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ต้องการสำหรับการฝึกฝนทักษะ)
วิธีการอบรม
-
บรรยายและกิจกรรมกลุ่ม (หลักสูตร 1 วัน)
-
บรรยายหัวข้อการถ่ายทอดมาตรฐานและฝึกทักษะรายกลุ่ม (หลักสูตร 2 วัน)
-
ฝึกทักษะการถ่ายทอดมาตรฐานรายบุคคล (หลักสูตร 3 วัน | ไม่เกิน 10 คน)
หลักสูตรอื่นที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรฝึกอบรมการบริการระดับ Advanced ที่สูงขึ้นกว่า พฤติกรรมบริการ (ESB) เพื่อฝึกฝนให้บุคลากรสามารถคาดเดาและบริหารจัดการพฤติกรรมลูกค้าได้
หลักสูตรฝึกอบรมการบริการที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกเชิงบวกแม้ในสถานการณ์ไม่ปกติ
หลักสูตรฝึกอบรมที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถเปลี่ยนปัญหาให้เป็นโอกาส ด้วยความรู้ ทักษะและเทคนิคที่เปลี่ยนแปลงลูกค้าที่มีปัญหาให้เป็น Loyal Customer
หลักสูตรการบริการสำหรับโรงพยาบาล ที่มิใช่เพียงแค่การดูแลอาการเจ็บป่วยของคนไข้เท่านั้น แต่ยังต้องดูแลสภาวะทางจิตใจของญาติมิตรที่ติดตามมาด้วย
หลักสูตรอบรมบริการที่ช่วยให้บุคลากรเข้าใจคุณสมบัติ คุณลักษณะ ความต้องการและระดับความคาดหวังของลูกค้าในตลาดระดับบนและสามารถให้บริการได้อย่างถูกต้อง
หลักสูตรอบรมการบริการที่ช่วยพัฒนาความสามารถในการแสดงออกให้ลูกค้ารับรู้ถึงความ “ใส่ใจ” ทั้งที่ไม่สามารถมองเห็นการแสดงออกทางสีหน้าท่าทางได้
หลักสูตรฝึกอบรมด้านการบริการที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคสามารถแก้ไขปัญหาเชิงความรู้สึกของลูกค้าควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคได้
ฝึกอบรมการบริการให้กับสมาชิกทีมงานในส่วนสนับสนุนขององค์กรทีมีส่วนร่วมในกระบวนการส่งมอบบริการเช่น ฝ่ายผลิต คลังสินค้า จัดซื้อจัดหาและบัญชีการเงิน
หลักสูตรฝึกอบรมที่จะช่วยให้ผู้บริหารและหัวหน้างานสามารถยกระดับคุณภาพบริการขององค์กรเพื่อเพิ่มคุณค่าให้เป็น “ทางเลือกแรก” ของลูกค้าอย่างต่อเนื่องและตลอดไป