จิตวิทยาการบริการสำหรับโรงพยาบาล

Hospital Service Excellence Psychology
บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาลมักจะให้ความสำคัญกับการดูแลอาการทางกายภาพของผู้ป่วย แต่การบริการที่เป็นเลิศของโรงพยาบาลนั้น มิได้เกิดจากการการดูแลอาการเจ็บป่วยของคนไข้เพียงอย่างเดียว แต่บุคลากรของโรงพยาบาลยังต้องให้ความสำคัญกับการดูแลสภาวะทาง “จิตใจ” ทั้งของคนไข้ และญาติมิตรที่ติดตามมาด้วย
แนวคิด
งานบริการสำหรับโรงพยาบาลนั้น แตกต่างจากบริการในธุรกิจอื่น ๆ อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากผู้ป่วยและญาติมิตรของเขาที่มาติดต่อโรงพยาบาลนั้น มีวัตถุประสงค์ อารมณ์ และความรู้สึก ที่แตกต่างจากลูกค้าในสถานบริการประเภทอื่น ๆ ผู้ป่วยและญาติพากันมายังโรงพยาบาลเนื่องจาก “ปัญหา” และ “จำเป็น” มิใช่เพราะ “ความต้องการ” และด้วยสภาวะทางกายที่เจ็บป่วยของตนเองหรือญาติ พวกเขานั้นจึงมิได้อยู่ในสภาวะอารมณ์ปกติ ทั้งผู้ป่วยและญาติส่วนใหญ่ในโรงพยาบาลนั้นอยู่ในความวิตกกังวล สับสน เครียด และบางรายก็อยู่ในอาการเศร้าโศก ส่งผลให้การรับรู้ของพวกเขานั้นมิได้เป็นปกติ การให้บริการในโรงพยาบาลนั้น การให้บริการในโรงพยาบาลนั้นจึงมีลักษณะจำเพาะหลายประการที่แตกต่างไปจากการให้บริการของโรงแรมหรือธุรกิจบริการประเภทอื่น
เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลนั้น จึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจและหลักจิตวิทยาในการดูแล ติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่มีลักษณะจำเพาะนี้ มิใช่เพียงแค่การดูแลอาการเจ็บป่วยของคนไข้เท่านั้น แต่ยังต้องดูแลสภาวะทาง “จิตใจ” ทั้งของคนไข้ และญาติมิตรที่ติดตามมาด้วย เนื่องจากผู้ประเมินคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลส่วนใหญ่นั้นอาจจะไม่ใช่คนไข้หรือผู้ป่วย หากแต่เป็นญาติมิตรของคนไข้ที่จะเป็นผู้ประเมินว่าโรงพยาบาลนั้นบริการเป็นอย่างไร
สิ่งที่ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้
-
ความสำคัญของ “พฤติกรรมของบุคลากร” ที่ส่งผลโดยตรงต่อการประเมินคุณภาพบริการของโรงพยาบาล
-
คุณลักษณะของลูกค้าโรงพยาบาลที่แตกต่างจากธุรกิจบริการประเภทอื่น ๆ
-
การบริการที่ดีหรือไม่ดีนั้น ส่งผลโดยตรงต่อผู้ให้บริการในทันที
-
การบริการคือการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่ทำให้ลูกค้าเกิด “ความรู้สึก” ว่าองค์กรใส่ใจในการดูแลลูกค้า
-
หลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลลูกค้าให้เกิดประสบการณ์ที่สร้างความพึงพอใจสูงสุด
-
เทคนิคทางจิตวิทยาสำหรับการปฏิบัติดูแลลูกค้าในสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื้อหาของหลักสูตร
ความรู้และความเข้าใจเชิงจิตวิทยาเกี่ยวกับงานบริการ
-
ความรู้สึกรับรู้ (Perception) ของลูกค้า ซึ่งหลายครั้งไม่ใช่ “ความจริง (Fact/Truth)
-
ารบริการไม่ใช่เป็นเพียงแค่การเอาใจใส่ลูกค้า แต่ต้องแสดงออกให้ลูกค้าสัมผัสได้
-
พฤติกรรมรูปแบบต่าง ๆ ที่บ่งบอกถึง “ความใส่ใจ” และ “จริงใจ” ในความรู้สึกรับรู้ของลูกค้า
-
มารยาทที่พึงประสงค์ระหว่างให้บริการและมารยาทที่ลูกค้าคาดหวังตามอารมณ์ที่แตกต่างกัน
-
วัตถุประสงค์สำคัญอันดับแรกในงานบริการคือ “การแก้ไขปัญหาและอำนวยความสะดวก”
-
ข้อแตกต่างระหว่างลูกค้าโรงพยาบาลและลูกค้าของสถานบริการประเภทอื่น
"คุณภาพบริการ" ในกระบวนการรับรู้ของลูกค้า
-
ความต้องการเชิงกายภาพ และ ความต้องการเชิงจิตวิทยาของลูกค้าในโรงพยาบาล
-
การจัดการดูแลสภาพแวดล้อมทางกายภาพต่าง ๆ ที่ลูกค้ารับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5
-
ความสำคัญของ “บุคลิกภาพ” ที่ส่งผลต่อทัศนคติและกระบวนการการตัดสินใจซื้อของลูกค้า
-
ปัจจัยที่ส่งผลให้บุคลากรแต่ละคนส่งมอบบริการได้คุณภาพไม่เท่าเทียมกันและแนวทางแก้ไข
-
หลักการทำงานให้ถูกต้องตั้งแต่แรก เนื่องจากการบริการให้โอกาสเราเพียงครั้งเดียว
-
ลูกค้าอาจจะไม่ถูกต้องเสมอไป แต่เขาสงวนสิทธิ์ที่จะได้รับการปฏิบัติดูแลอย่างถูกต้องเสมอ
การใช้จิตวิทยาเพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าในแต่ละสถานการณ์
(เรียนรู้จากแบบสอบถามจำลองสถานการณ์ในมุมมองลูกค้า)
-
การแสดงให้ลูกค้ารับรู้ถึงความ “ใส่ใจ” ตั้งแต่ “สัมผัสแรก” ของการบริการ
-
การดูแลลูกค้าที่ติดต่อเข้ามาหลายรายพร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
-
การปฏิบัติต่อความคาดหวังที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละราย ในสถานกาณ์เดียวกัน
-
การแสดงออกให้ลูกค้ารับรู้ถึง “ความกระตือรือร้น” ในการให้บริการ
-
หลักจิตวิทยาและข้อปฏิบัติสำหรับสถานการณ์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับลูกค้า
-
เทคนิคการสร้างความประทับใจ ถึงแม้ลูกค้าจะไม่ได้ในสิ่งที่เขาต้องการ
-
การสื่อสารเพื่อให้ลูกค้ารับรู้ถึงงานเบื้องหลังต่าง ๆ ที่ องค์กรได้พยายามทำเพื่อลูกค้า
-
เทคนิค และ ไหวพริบในการปฏิบัติต่อลูกค้าในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ
รูปแบบการจัดอบรม
จำนวนผู้เข้าอบรม
ประมาณ 40 คน ต่อรุ่น
เนื่องจากเป็นการอบรมแบบผู้เรียนมีส่วนร่วม
ระยะเวลา
1 วัน
วิธีการอบรม
- ผู้เข้าอบรมอภิปรายกลุ่ม
- วิทยากรบรรยายแนวทางและบรรยายสรุป
- ผู้เข้าอบรมเรียนรู้จากแบบสอบถามเชิงจิตวิทยาซึ่งจำลองสถานการณ์บริการจากมุมมองของลูกค้า
หลักสูตรอื่นที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรฝึกอบรมการบริการระดับ Advanced ที่สูงขึ้นกว่า พฤติกรรมบริการ (ESB) เพื่อฝึกฝนให้บุคลากรสามารถคาดเดาและบริหารจัดการพฤติกรรมลูกค้าได้
หลักสูตรฝึกอบรมการบริการที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกเชิงบวกแม้ในสถานการณ์ไม่ปกติ
หลักสูตรฝึกอบรมที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถเปลี่ยนปัญหาให้เป็นโอกาส ด้วยความรู้ ทักษะและเทคนิคที่เปลี่ยนแปลงลูกค้าที่มีปัญหาให้เป็น Loyal Customer
หลักสูตรอบรมบริการที่ช่วยให้บุคลากรเข้าใจคุณสมบัติ คุณลักษณะ ความต้องการและระดับความคาดหวังของลูกค้าในตลาดระดับบนและสามารถให้บริการได้อย่างถูกต้อง
หลักสูตรอบรมการบริการที่ช่วยพัฒนาความสามารถในการแสดงออกให้ลูกค้ารับรู้ถึงความ “ใส่ใจ” ทั้งที่ไม่สามารถมองเห็นการแสดงออกทางสีหน้าท่าทางได้
หลักสูตรฝึกอบรมด้านการบริการที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคสามารถแก้ไขปัญหาเชิงความรู้สึกของลูกค้าควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคได้
ฝึกอบรมการบริการให้กับสมาชิกทีมงานในส่วนสนับสนุนขององค์กรทีมีส่วนร่วมในกระบวนการส่งมอบบริการเช่น ฝ่ายผลิต คลังสินค้า จัดซื้อจัดหาและบัญชีการเงิน
หลักสูตรฝึกอบรมที่จะช่วยให้ผู้บริหารและหัวหน้างานสามารถยกระดับคุณภาพบริการขององค์กรเพื่อเพิ่มคุณค่าให้เป็น “ทางเลือกแรก” ของลูกค้าอย่างต่อเนื่องและตลอดไป
หลักสูตรฝึกอบรมที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถควบคุมมาตรฐานคุณภาพการบริการให้ดำรงอยู่ในระดับที่ตั้งเป้าหมายไว้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา