การออกแบบบริการเพื่อเสริมสร้างคุณค่าให้องค์กร

Designing Value-Added Services
การแข่งขันทางธุรกิจส่งผลให้ทุกองค์กรพยายามยกระดับคุณภาพการบริการอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อเพิ่ม “คุณค่า” ให้กับธุรกิจหลักโดยมีวัตถุประสงค์ให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกรับรู้ได้ว่าองค์กรของตนนั้นเป็น “ทางเลือกแรก” และเป็น “ทางเลือกเดียวตลอดไป”
แนวคิด
เนื่องจากการบริการนั้นสามารถลอกเลียนแบบได้ง่าย การสำรวจคู่แข่งขันในตลาดเพื่อนำรูปแบบของคู่แข่งขันมายกระดับจึงกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งนอกเหนือจะเป็นการทำให้ต้นทุนขององค์สูงขึ้นแล้ว ยังทำให้ลูกค้าพบเห็นบริการที่ลอกเลียนกันอยู่ในทุกหนแห่งจนหา “คุณค่า” และ “ความแตกต่าง” ไม่ได้ การสร้าง ”คุณค่าที่แตกต่าง” ในความรู้สึกของลูกค้านั้น จำเป็นต้องเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจถึง “ปัญหา” “ความจำเป็น” และ “ความต้องการ” ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกันไป มิเช่นนั้น การบริการที่องค์กรได้ลงทุนจัดสรรมาโดยหวังว่าจะสร้าง “คุณค่า” ให้กับลูกค้านั้นอาจจะกลายเป็นสิ่ง “ไร้ค่า” ในความรู้สึกของลูกค้าได้
หลักสูตรนี้จะช่วยให้ผู้บริหาร ผู้จัดการ และหัวหน้างานได้เรียนรู้กระบวนการออกแบบการบริการที่สามารถสร้าง คุณค่าให้กับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายขององค์กร และออกแบบพัฒนาการบริการที่สามารถตอบโจทย์ของลูกค้าได้ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกรับรู้ว่า องค์กรของเราคือทางเลือกแรกที่ดีที่สุดของเขา และเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดตลอดไป
สิ่งที่ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้
- กระบวนการวิเคราะห์ “ห่วงโซ่คุณค่า” ของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายขององค์กร
- กระบวนการและขั้นตอนในการออกแบบ/พัฒนาการบริการเพื่อส่งมอบ “คุณค่า” ในความรู้สึกของลูกค้า
- แนวคิดและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการออกแบบ/พัฒนาการบริการในองค์กร
- การนำบริการที่พัฒนาแล้วไปสู่ระดับปฏิบัติการ
- การติดตามเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้องค์กรเป็นทางเลือกของลูกค้าตลอดไป
เนื้อหาของหลักสูตร
ความจำเป็นในการออกแบบและบริหารจัดการบริการ
-
กระบวนการตัดสินใจซื้อของลูกค้า – Customer Purchase Decision
-
ปัญหาและความจำเป็นที่แตกต่างกันของลูกค้าแต่ละกลุ่ม
-
ช่องว่างคุณภาพบริการที่ต้องเติมเต็ม – Gap Model of Service Quality
-
การบริหารจัดการ “ความรู้สึกรับรู้” – Managing “Perception”
วัตถุประสงค์ องค์ประกอบและคุณลักษณะของบริการที่ดี
-
คุณค่าของการบริการในความรู้สึกรับรู้ของลูกค้า
-
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการบริการที่จัดสรรไว้ในองค์กร
-
ประเภทของบริการในองค์กรที่เพิ่ม “คุณค่า” ในการแข่งขัน
-
องค์ประกอบของการบริการที่สร้าง “คุณค่า” ในความรู้สึกรับรู้ของลูกค้า
-
คุณลักษณะของบริการที่ต้องบริหารจัดการ (SERVQUAL Model)
การวิเคราะห์ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
-
การจัดกลุ่มตามคุณลักษณะลูกค้าและลูกค้ากลุ่มเป้าหมายขององค์กร
-
สมาชิกผู้เกี่ยวข้องในการตัดสินใจซื้อ – Members in a Purchase Decision
-
ปัจจัยสร้าง “คุณค่า” ในความรู้สึกของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและสมาชิก
-
Customer Personas
จุดสัมผัสที่สร้างความรู้สึกรับรู้ของลูกค้าต่อ “บริการขององค์กร”
-
Moment of Truth and Customer Touch Point
-
ปัจจัยบ่งชี้คุณภาพบริการขององค์กรในแต่ละจุดสัมผัส
-
3 additional Ps of Service – Physical Evidence, People, Process
-
SERVUCTION Model (Service Production)
ข้อมูลและเครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อการออกแบบบริการ
-
สภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ
-
ประสบการณ์ของจากลูกค้าที่ได้ใช้บริการ
-
ประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงานในองค์กร
-
ประสบการณ์ของเราเองจากการไปใช้บริการในฐานะลูกค้ากับองค์กรประเภทอื่น ๆ
-
Customer Journey and Customer Trauma Analysis & Mapping
การออกแบบริการ
-
การกำหนดนโยบาย – Policies
-
การออกแบบกระบวนการ – Process
-
การกำหนดมาตรฐาน – Service Level Agreement & Standard of Performance
-
การจัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวก – Facilities
-
แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบริการ – Forms & Format
การนำไปปฏิบัติและการติดตามผล
-
การจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติและการนำไปถ่ายทอดให้ผู้ปฏิบัติการ
-
การติดตามผลและการปรับปรุงพัฒนาเพื่อการยกระดับอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบการจัดอบรม
ผู้เข้าอบรม
ผู้บริหารระดับต้นขึ้นไป จำนวนไม่เกิน 20 คน ต่อรุ่น
ระยะเวลา
2 วัน (สามารถเพิ่มเป็น 3 วันเพื่อเพิ่มเวลาการทำ Workshop )
วิธีการอบรม
-
ผู้เข้าอบรมอภิปรายกลุ่ม และวิทยากรบรรยายสรุป
-
การศึกษาองค์กรต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาในมุมมองของลูกค้า
-
กิจกรรมกลุ่มเพื่อระดมความคิดและนำเสนอแนวทางพัฒนา
-
โครงการกลุ่มเพื่อนำเสนอรูปแบบบริการที่ออกแบบขึ้นใหม่
หลักสูตรอื่นที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรฝึกอบรมการบริการระดับ Advanced ที่สูงขึ้นกว่า พฤติกรรมบริการ (ESB) เพื่อฝึกฝนให้บุคลากรสามารถคาดเดาและบริหารจัดการพฤติกรรมลูกค้าได้
หลักสูตรฝึกอบรมการบริการที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกเชิงบวกแม้ในสถานการณ์ไม่ปกติ
หลักสูตรฝึกอบรมที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถเปลี่ยนปัญหาให้เป็นโอกาส ด้วยความรู้ ทักษะและเทคนิคที่เปลี่ยนแปลงลูกค้าที่มีปัญหาให้เป็น Loyal Customer
หลักสูตรการบริการสำหรับโรงพยาบาล ที่มิใช่เพียงแค่การดูแลอาการเจ็บป่วยของคนไข้เท่านั้น แต่ยังต้องดูแลสภาวะทางจิตใจของญาติมิตรที่ติดตามมาด้วย
หลักสูตรอบรมบริการที่ช่วยให้บุคลากรเข้าใจคุณสมบัติ คุณลักษณะ ความต้องการและระดับความคาดหวังของลูกค้าในตลาดระดับบนและสามารถให้บริการได้อย่างถูกต้อง
หลักสูตรอบรมการบริการที่ช่วยพัฒนาความสามารถในการแสดงออกให้ลูกค้ารับรู้ถึงความ “ใส่ใจ” ทั้งที่ไม่สามารถมองเห็นการแสดงออกทางสีหน้าท่าทางได้
หลักสูตรฝึกอบรมด้านการบริการที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคสามารถแก้ไขปัญหาเชิงความรู้สึกของลูกค้าควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคได้
ฝึกอบรมการบริการให้กับสมาชิกทีมงานในส่วนสนับสนุนขององค์กรทีมีส่วนร่วมในกระบวนการส่งมอบบริการเช่น ฝ่ายผลิต คลังสินค้า จัดซื้อจัดหาและบัญชีการเงิน
หลักสูตรฝึกอบรมที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถควบคุมมาตรฐานคุณภาพการบริการให้ดำรงอยู่ในระดับที่ตั้งเป้าหมายไว้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา