หลักการสื่อสารเชิงลูกค้าสัมพันธ์เพื่องานบริการ
Customer Service Communications
บางครั้ง “ความเป็นกันเอง” อาจทำให้สูญเสียมิตรภาพที่ดีกับลูกค้าได้
คำว่า Friendly ในภาษาอังกฤษนั้น ให้ความหมายในภาษาไทยว่า “เป็นมิตร” มิใช่ “เป็นกันเอง” สำหรับในภาษาไทยนั้น การเป็นกันเองให้ความหมายโดยนัยว่า การไม่ถือตัว ดังนั้นผู้ที่จะสามารถแสดงความเป็นกันเองกับผู้อื่นได้จะต้องเป็นผู้ซึ่งมีสถานภาพทางสังคมที่สูงกว่าเท่านั้น
แนวคิด
ทุกองค์กรตระหนักดีว่า ลูกค้าคือผู้มีเกียรติ ซึ่งมีอุปการะคุณกับองค์กรของเรา วลีที่กล่าวไว้ว่า ให้ดูแลลูกค้าประดุจญาติสนิทมิตรสหาย นั้น มีความหมายว่า ดูแลลูกค้าให้ดีที่สุด เพื่อให้มีความสุขและความพึงพอใจสูงสุด เสมือนที่เราดูแลญาติสนิทมิตรสหาย แต่มิได้หมายถึงการถือวิสาสะ ด้วยการ “นับญาติ” หรือ “เป็นกันเอง” กับลูกค้าผู้มีเกียรติเหล่านั้น ดังนั้น พนักงานบริการจึงต้องระวังคำพูดและกริยาที่จะต้องใช้สื่อสารกับลูกค้าเพื่อให้การบริการทุกครั้งเป็นที่พึงพอใจสูงสุด
ผู้เข้าอบรมในหลักสูตรนี้จะได้เรียนรู้ทักษะในการใช้คำสำนวนพูด น้ำเสียง สีหน้าท่าทาง รวมถึงกริยา มารยาท และกาลเทศะในการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าแต่ละรายที่มีคุณลักษณะและบุคลิกภาพแตกต่างกัน
สิ่งที่ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้
- ความสำคัญของการสื่อสารที่มีผลต่อระดับความพึงพอใจของลูกค้า
- หลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเชิงสัมพันธภาพ
- วิธีการแสดงออกทางสีหน้า การแสดงกิริยาให้สอดคล้องเหมาะสมกับอารมณ์ของลูกค้าในแต่ละสถานการณ์
- ทักษะ เทคนิค และศิลปะในการใช้คำ วลี ประโยค ที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด
เนื้อหาของหลักสูตร
ลักษณะสำคัญของการสื่อสารเชิงลูกค้าสัมพันธ์
- เป้าหมายของการสื่อสารเชิงลูกค้าสัมพันธ์ – ความเข้าใจ และ ความพอใจ
- อิทธิพลของการรับสารผ่านประสาทสัมผัสอื่นของลูกค้านอกเหนือจากโสตสัมผัส
- การสื่อสารด้วยสภาวะทางกายภาพที่ลูกค้ามองเห็นได้ (Visual Communication)
- การใช้นำเสียงและจังหวะในการสื่อสาร (Vocal Communication)
- ข้อควรระวังในการใช้สำนวนภาษาสำหรับการสื่อสารผ่านสื่อสมัยใหม่
หลักและเทคนิคพื้นฐานสำหรับการสื่อสารในงานบริการ
- การใช้บุคลิกและกิริยาท่าทางในการสื่อสารกับลูกค้าที่มีคุณลักษณะแตกต่างกัน
- การใช้คำถามประเภทต่าง ๆ อย่างเหมาะสมเพื่อหาคำตอบที่ถูกต้องและรวดเร็ว
- ทักษะการฟังเพื่อให้ได้ “ข้อมูล” และได้รับรู้ “ความรู้สึก” ของลูกค้าอย่างถูกต้อง
- ขั้นตอนการสื่อสารกับลูกค้าเพื่อการบริการที่ได้ประสิทธิภาพ
การใช้สำนวนการสื่อสารเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน
- การใช้สำนวนภาษาที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจได้
- การใช้คุณศัพท์และลักษณะนามที่สร้างความเข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย
- การสื่อสารให้ได้เนื้อหาและบริบทครบถ้วน
- ฝึกปฏิบัติ
หลักการสื่อสารด้วยสำนวนที่สร้างความพึงพอใจ
- การเลือกใช้คำ วลี และสำนวนที่สร้างความรู้สึกเชิงบวกในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
- การใช้สำนวนที่ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รับการยกย่องให้เกียรติ
- เทคนิคการหลีกเลี่ยงสำนวนที่เสี่ยงต่อการทำให้ลูกค้าไม่พอใจหรือรู้สึกไม่ดี
- การหลีกเลี่ยงสำนวนที่อาจเป็นการแสดงความคิดเห็นขัดแย้งกับลูกค้า
- การเจรจาให้ลูกค้าพึงพอใจในกรณีที่ไม่สามารถสนองความประสงค์ของลูกค้าได้
- ฝึกปฏิบัติ
รูปแบบการจัดอบรม
จำนวนผู้เข้าอบรม
ไม่เกิน 24 คน ต่อรุ่น
เนื่องจากเป็นการอบรมแบบมีการฝึกทักษะ
ระยะเวลา
1 วัน
วิธีการอบรม
- บรรยายแนวทาง
- ฝึกทักษะในกลุ่มย่อย
- สรุปสำนวนที่จะนำไปใช้ในการสื่อสารกับลูกค้า
หมายเหตุ
ผู้เข้าอบรมหลักสูตรนี้จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตร จิตวิทยาการบริการที่เป็นเลิศ มาก่อนแล้ว
หลักสูตรอื่นที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรฝึกอบรมการบริการระดับ Advanced ที่สูงขึ้นกว่า พฤติกรรมบริการ (ESB) เพื่อฝึกฝนให้บุคลากรสามารถคาดเดาและบริหารจัดการพฤติกรรมลูกค้าได้
หลักสูตรฝึกอบรมที่จะช่วยให้บุคลากรสามารถเปลี่ยนปัญหาให้เป็นโอกาส ด้วยความรู้ ทักษะและเทคนิคที่เปลี่ยนแปลงลูกค้าที่มีปัญหาให้เป็น Loyal Customer
หลักสูตรการบริการสำหรับโรงพยาบาล ที่มิใช่เพียงแค่การดูแลอาการเจ็บป่วยของคนไข้เท่านั้น แต่ยังต้องดูแลสภาวะทางจิตใจของญาติมิตรที่ติดตามมาด้วย
หลักสูตรอบรมบริการที่ช่วยให้บุคลากรเข้าใจคุณสมบัติ คุณลักษณะ ความต้องการและระดับความคาดหวังของลูกค้าในตลาดระดับบนและสามารถให้บริการได้อย่างถูกต้อง
หลักสูตรอบรมการบริการที่ช่วยพัฒนาความสามารถในการแสดงออกให้ลูกค้ารับรู้ถึงความ “ใส่ใจ” ทั้งที่ไม่สามารถมองเห็นการแสดงออกทางสีหน้าท่าทางได้
หลักสูตรฝึกอบรมด้านการบริการที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิคสามารถแก้ไขปัญหาเชิงความรู้สึกของลูกค้าควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเชิงเทคนิคได้
ฝึกอบรมการบริการให้กับสมาชิกทีมงานในส่วนสนับสนุนขององค์กรทีมีส่วนร่วมในกระบวนการส่งมอบบริการเช่น ฝ่ายผลิต คลังสินค้า จัดซื้อจัดหาและบัญชีการเงิน
หลักสูตรฝึกอบรมที่จะช่วยให้ผู้บริหารและหัวหน้างานสามารถยกระดับคุณภาพบริการขององค์กรเพื่อเพิ่มคุณค่าให้เป็น “ทางเลือกแรก” ของลูกค้าอย่างต่อเนื่องและตลอดไป
หลักสูตรฝึกอบรมที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถควบคุมมาตรฐานคุณภาพการบริการให้ดำรงอยู่ในระดับที่ตั้งเป้าหมายไว้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา